ไม่แปลกใจเลยว่าทำไมพม่าถึงเข้ามาเป็นเจ้าของกิจการส่วนตัวได้
ตะลึง!!! ต่างด้าวแห่เป็นเจ้าของแผงลอยสินค้า พม่าครอง44.5% อยากถามว่าคนไทยไปอยู่ไหน ทำอะไรกันอยู่
สศช. เปิดผลสำรวจพบต่างด้าวแห่แย่งอาชีพค้าขายคนไทย โดยจดทะเบียนเป็นกรรมกรแต่กลับเข้ามาขายของ ผิดกฎหมายเต็มๆ หนำซ้ำยังเป็นเจ้าของร้านเอง มีเงินเก็บ ไร้หนี้สิน หอบเงินส่งกลับประเทศเพียบ แต่แทบไม่ถูกจัดการ เหตุจ่ายส่วยเจ้าหน้าที่ ให้คนไทยรับหน้าเป็นนายจ้าง หรือมีเครือข่ายเตือนล่วงหน้าไม่ให้ถูกจับกุม
นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงภาวะสังคมไทยไตรมาสที่ 2 ปี 59 ว่า สศช.ได้ร่วมกับบริษัท ศูนย์วิจัยเพื่อการพัฒนาสังคมและธุรกิจ จำกัด ดำเนินโครงการสำรวจการประกอบอาชีพค้าขายรายย่อยของแรงงานต่างด้าวในประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 4 พ.ค.-22 มิ.ย.59 ในพื้นที่กรุงเทพฯ, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, เชียงใหม่, นครราชสีมา, หนองคาย, ชลบุรี และสงขลา พบว่า แรงงานต่างด้าวมีการค้าขายในทุกระดับ โดยในระดับศูนย์สรรพสินค้ามีต่างด้าวเป็นเจ้าของร้าน 6.9% ของจำนวนผู้ค้าทั้งหมด, เป็นเจ้าของแผงในตลาดนัด 1.8%, เป็นเจ้าของแผงในตลาดสด 20.9% และเป็นเจ้าของร้านในตลาดชุมชน 9.7% ซึ่งต่างด้าวที่เป็นเจ้าของร้าน หรือแผงค้ามีสัญชาติเมียนมา 44.5%, กัมพูชา 21.4%, ลาว 19.8%, เวียดนาม 4.4%, จีน 1.6%, ชนกลุ่มน้อย 5.5% และอื่นๆ 2.7%
ขณะเดียวกัน ยังพบว่าผู้ค้าคนไทยและต่างด้าวขาดการรับรู้กฎหมาย โดยผู้ค้าชาวไทย 3 ใน 4 รับรู้ว่ามีคนต่างด้าวมาทำอาชีพค้าขาย แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งที่ทราบว่า อาชีพค้าขายของแรงงานต่างด้าวเป็นเรื่องผิดกฎหมาย ขณะที่ผู้ค้าต่างด้าวที่รู้ว่าผิดกฎหมายมีเพียง 1 ใน 4 ส่วนใหญ่เป็นแรงงานต่างด้าวที่เป็นเจ้าของเอง อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบเฉพาะผู้ค้ารายย่อยที่เป็นต่างด้าว พบว่า เป็นเจ้าของ 42.9% เป็นลูกจ้าง 45.8% และค้าขายให้กับครอบครัว หรือญาติ 11.3% สะท้อนว่า แม้จะจ้างแรงงานต่างด้าวจดทะเบียนเป็นกรรมกร แต่ในทางปฏิบัติ นายจ้างกลับต้องการแรงงานมาทำงานหลากหลาย รวมถึงช่วยขายของหน้าร้าน และมีจำนวนไม่น้อยที่เป็นเจ้าของเอง
นอกจากนี้ ยังพบว่า ผู้ค้าต่างด้าวที่เป็นเจ้าของ ที่เข้ามาประกอบอาชีพค้าขายโดยตรงมีสัดส่วน 41.3% อาจเป็นเพราะมีเพื่อน ญาติ หรือเครือข่าย ทำให้มีช่องทางค้าขาย ขณะที่ 1 ใน 3 ของผู้ค้าต่างด้าว เป็นเจ้าของร้านหลังเข้ามาทำงานในไทยแล้ว 2-3 ปี แม้จะมีการจับกุม แต่กว่าครึ่งหนึ่งกลับมาค้าขายใหม่ ส่วนการสำรวจด้านรายได้พบว่า ผู้ค้าต่างด้าว 47.4% มีเงินเก็บและไม่มีหนี้สิน และกว่า 80% ส่งเงินกลับประเทศ โดยส่งกลับครั้งละ 1,001-5,000 บาท คิดเป็น 52%, ส่งเงินกลับครั้งละ 5,001-10,000 บาท คิดเป็น 35.1%
ยกตัวอย่างจากเพจ : เนชั่นสุดสัปดาห์ NationWeekend
เคยโพสต์เมือ 3 ปีที่แล้ว
แรงงานพม่าที่ระนอง ไม่สนค่าแรง 300 บาท หันประกอบอาชีพอิสระแข่งคนไทย
ร้านค้าระนองมึนเจอแรงงานต่างด้าวเลิกเป็นลูกจ้าง หันประกอบธุรกิจส่วนตัวทั้งผู้รับเหมา,ค้าขาย ล่าสุดพบเปิดร้านย่านชุมชนตั้งร้าน เย้ยกฎหมายนับ 100 ร้าน เผยบางรายถึงขั้นจ้างคนไทยออกหน้าเป็นเจ้าของ จี้หน่วยงานรับผิดชอบเร่งแก้ปัญหาด่วน
"ลักษณะร้านค้าของคนต่างด้าวชาวพม่าจะเน้นเลือกทำเลที่มีแรงงานต่างด้าวชาติเดียวกันทำงาน หรืออาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งในเขตพื้นที่จังหวัดระนองจะมีหลายแห่ง จากนั้นจะเปิดร้านในลักษณะร้านค้าชั่วคราวรับของจากตัวเมืองมาขายต่อซึ่งรูปแบบร้านจะเป็นแผงหรือเพิงคล้ายกับสินค้าที่มีการวางขายในตลาดนัดของคนไทย ซึ่งจะมีทั้งสินค้าทั่วไป รวมถึงผักและปลาหรือสัตว์น้ำที่นำมาจากฝั่งพม่า โดยพ่อค้าเหล่านี้จะจำหน่ายในราคาที่ถูกมากทำให้ได้รับความนิยมทั้งจากคนไทยและคนต่างด้าว ส่วนร้านตัดผม,ร้านคาราโอเกะจะเลือกทำเลในบริเวณบ้านเช่าที่คนต่างด้าวเช่า ซึ่งหากดูลักษณะภายนอกจะมีรูปแบบเหมือนร้านค้าคนไทย หากมีเจ้าหน้าที่ไปทำการสอบถามก็จะได้รับคำตอบว่าเป็นของคนไทย อ้างว่าไม่ทราบว่าชื่ออะไร,อยู่ต่างจังหวัด ส่วนคนต่างด้าวที่อยู่ในร้านเป็นแค่ลูกจ้าง แต่ถ้าหากขอดูใบขออนุญาตประกอบการ หรือใบเสียภาษีจะไม่มี แต่ร้านค้าเหล่านี้จะรู้กันในหมู่คนต่างด้าว เพราะจะมีการบอกกันในลักษณะปากต่อปาก “
ส่วนผลกระทบต่อผู้ค้ารายย่อยของไทยนั้น จากการสำรวจ ผู้ค้าคนไทยเห็นว่าการเข้ามาค้าขายของ คนต่างด้าวมีทั้งข้อดีและข้อเสีย โดยผลดีคือ ส่งเสริม ให้ตลาดมีความคึกคัก ดึงดูดคนต่างด้าวอื่นๆมาซื้อสินค้า และทำให้มีสินค้าหลากหลาย ส่วนผลเสียคือ การแย่งอาชีพคนไทย โดยมักขายสินค้าประเภทเดียวกัน ได้แก่ ผักสด/ผลไม้, อาหารสำเร็จรูป, เสื้อผ้าเครื่องแต่งกาย และไข่/เนื้อสัตว์ นอกจากนี้ ยังเห็นว่าทำให้รายได้จากการขายสินค้าของคนไทยลดลง มีการขายตัดราคาโดยใช้ของคุณภาพต่ำ, แย่งชิงสินค้าและวัตถุดิบ ทำให้ราคาแพงขึ้น รวมทั้งมีการตั้งกลุ่มอิทธิพล นอกจากนี้ ยังมีความเห็นเรื่องผลกระทบอีกหลายด้าน เช่น ด้านสุขภาพอนามัย มาตรฐานด้านความสะอาดและสุขอนามัยที่แตกต่างจากคนไทย, เงินรั่วไหลออกนอกประเทศ, ปัญหาอาชญากรรมและการทะเลาะ วิวาท, การแพร่ระบาดของโรค, ความต้องการทรัพยากรพื้นฐาน และงบประมาณที่ต้องใช้การดูแล
ขอบคุณที่มา : https://www.matichon.co.th/news/267011 , https://www.posttoday.com/analysis/report/452484 , https://www.facebook.com/nationweekend/posts/10151384560365211 , https://www.thairath.co.th/content/706050
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น